วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

คำแนะนำดี ๆ สำหรับบุคคลที่จะเข้ามหาวิทยาลัย

ความใฝ่ฝันของน้องๆ ม.ปลาย ทุกคน ก็คือการได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่ชื่นชอบ ในคณะที่ใฝ่ฝัน แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า มันมีทางเข้ามหาวิทยาลัยได้กี่ทาง วันนี้พี่จะมาแนะนำน้องๆทุกคนนะ โดยข้อมูลทั้งหมดนี้ อ้างอิงจากระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยปีล่าสุด (2555)
โควต้าเรียกได้ว่า มีทุกมหาวิทยาลัยเลยก็ว่าได้ ส่วนมหาวิทยาลัยไหนมีโควต้าแบบไหนต้องติดตามตาม เว็บไซด์ของมหาวิทยาลัยนะครับน้องๆ โควต้าที่มีเป็นปกติของทุกมหาวิทยาลัยก็เช่น โควต้าสำหรับน้องๆต่างจังหวัดที่มีผลการเรียนดี โควต้าสำหรับน้องๆโครงการโอลิมปิกวิชาการ โควต้าสำหรับน้องๆที่มีความสามารถพิเศษด้านต่างๆ เช่น ภาษา ศิลปะ กีฬา เป็นต้น ส่วนใหญ่โควต้าจะมีหลายรอบนะ แต่หลักๆก็ก่อนสอบทุกอย่าง เรียกได้ว่าน้องมีมหาวิทยาลัยเรียน ตั้งแต่ยังไม่ได้สอบเลยก็ว่าได้ แต่สำหรับโควต้าบางที่ มีการสอบที่จัดโดยมหาวิทยาลัยเอง อันนี้น้องต้องติดตามข่าวสาร ระเบียบการตามเว็บไซด์มหาวิทยาลัยนะครับ
รับตรงก็มีทุกมหาวิทยาลัยอีกเหมือนกัน บางที่จะใช้ข้อสอบวัดระดับของมหาวิทยาลัยเอง บางที่จะใช้ข้อสอบวัดระดับจากส่วนกลาง น้องจะต้องติดตามข่าวสารจากมหาวิทยาลัยว่า เกณฑ์คะแนนที่ใช้ ใช้คะแนนอะไร อย่างละกี่เปอร์เซนต์ เช่น
คณะ / มหาวิทยาลัย
เกณฑ์
(จากปี 2555)
คะแนนขั้นต่ำ
วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
GAT 20%
PAT1 20%
PAT3 60%
ไม่มีคะแนนขั้นต่ำ
วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
PAT1 40%
PAT3 40%
สอบสัมภาษณ์ 20%
จะต้องมีคะแนนมากกว่า 30% ของคะแนนเต็ม
(หรือมากกว่า 90 คะแนน)
แค่นี้ก็เป็นตัวอย่างให้น้องเห็นได้แล้วว่า เกณฑ์แต่ละมหาวิทยาลัยจะไม่เหมือนกันเลย
ในส่วนรับตรงน้องจะสมัครกี่มหาวิทยาลัยก็ได้ แต่ละมหาวิทยาลัยจะไม่ตัดสิทธิ์น้องๆที่ติดรับตรงของมหาวิทยาลัยอื่นนะครับ เป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับน้องๆที่จะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยรัฐ สำหรับ Admission นี้ แต่ละมหาวิทยาลัย ในคณะเดียวกัน จะใช้เกณฑ์เดียวกันในการตัดสิน โดยน้องๆจะต้องติดตามข่าวสารจาก สอท. http://www.cuas.or.th ว่าแต่ละคณะ แต่ละมหาวิทยาลัย จะรับน้องๆเข้าเรียนทั้งหมดกี่คน และแต่ละคณะจะใช้เกณฑ์อะไรบ้าง น้องๆสามารถดูสัดส่วนคะแนนได้จาก http://www.cuas.or.th/document/brochouradm56.pdf
แต่อย่างไรก็ตาม การเลือกอันดับคณะที่อยากเข้าก็ต้องใช้ข้อมูลทางสถิติ (คะแนนสูงต่ำ) น้องสามารถดูตัวอย่างได้จากhttp://admission.cuas.or.th/adm55mxmnbyaupt/index.html จาก Admission 2555 แต่สำหรับปีอื่นๆ สามารถดูได้จากหนังสือระเบียบการ Admission ซึ่งคะแนนในแต่ละปี จะมีการขึ้น-ลง ที่ต่างกัน เช่น คะแนนของน้อง อาจจะ Admission ปี 2552 ติด แต่ Admission ปี 2553 ไม่ติด ก็ได้ ดังนั้น ข้อมูลทางสถิติที่ทาง สอท. ประกาศออกมา เป็นแค่ข้อมูลช่วยในการตัดสินใจเท่านั้น อย่าเชื่อใจ 100% นะครับ
น้องที่ไม่เข้ามหาวิทยาลัยของรัฐ ก็มีมหาวิทยาลัยเอกชนอีกหลายที่ที่รองรับน้องๆอยู่ แต่แน่นอน ค่าเทอมก็จะสูงกว่ามหาวิทยาลัยรัฐแน่นอน วิธีการรับเข้า จะขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย ว่าจะใช้เกณฑ์ใดในการรับน้องๆเข้าศึกษา อันนี้น้องต้องติดตามข่าวสารจากเว็บไซด์ของมหาวิทยาลัยนะครับ
การเรียนอินเตอร์เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และแนวโน้มของนักเรียนอินเตอร์จะมีโอกาสการเข้าทำงานในบริษัทต่างๆที่สูงขึ้น เพราะในอนาคตอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ก็จะเริ่มขึ้นแล้ว ดังนั้น คนเก่งอย่างเดียวนั้นไม่พอ น้องจะต้องมีความรู้ทางภาษาด้วย ซึ่งการเรียนอินเตอร์เป็นตัวการันตีระดับทางภาษาของน้องๆได้ แต่พี่ไม่ได้หมายความว่าน้องจะต้องเรียนอินเตอร์นะครับ ถ้าน้องเรียนภาคไทย จะต้องไม่ทิ้งวิชาภาษาอังกฤษนะ
สำหรับเกณฑ์การสอบเข้าภาคอินเตอร์ ก็จะใช้สัดส่วนของคะแนนต่างกันในแต่ละมหาวิทยาลัย โดยการสอบนี้จะเป็นการสอบวัดระดับของนานาชาติ หรือข้อสอบภาษาอังกฤษ เช่น TOFEL, IELTS, SAT, CU TEP, CU AAT, CU ATS เป็นต้น

1. GAT/PAT – น้องสามารถติดตามข่าวสารได้จากhttp://www.niets.or.th/ โดยตามปกติแล้ว จะมีการจัดสอบในช่วงเดือน ตุลาคม และมีนาคม ของทุกปี สำหรับน้องๆระดับชั้น ม.6 ขึ้นไป โดยแบ่งเป็น
·         GAT ความถนัดทั่วไป (ภาษาไทย และอังกฤษ)
·         PAT1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
·         PAT2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
·         PAT3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
·         PAT4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
·         PAT5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
·         PAT6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
·         PAT7 ความถนัดทางภาษา (ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน อาหรับ บาลี)
ทั้งนี้ น้องจะเลือกสมัครวิชาใด น้องจะต้องรู้ว่าตัวน้องอยากเข้าคณะใด และใช้เกณฑ์เป็นคะแนนจากวิชาไหน น้องจะได้ไม่ต้องสอบแบบหว่านแหไปหมด ที่สำคัญ การสมัครสอบ GAT PAT น้องจะต้องเป็นคนสมัครด้วยตัวเอง และเลือกสนามสอบใดก็ได้
2. สอบวิชาสามัญ 7 วิชา น้องสามารถติดตามข่าวสารได้จาก http://www.niets.or.th/ โดยตามปกติแล้ว จะมีการจัดสอบในช่วงเดือนมกราคม การสอบนี้เป็นระบบใหม่ที่เริ่มใช้ใน Admission 2555 โดยวิชาที่สอบมีดังนี้คือ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สังคมศึกษา โดยการสอบนี้น้องจะต้องสมัครด้วยตัวเองเช่นกัน
3. สอบ O-NET – น้องสามารถติดตามข่าวสารได้จาก http://www.niets.or.th/ หรือที่โรงเรียนน้องๆเอง เพราะว่าน้องต้องสอบทุกคน และโรงเรียนเป็นผู้สมัครให้ น้องไม่ต้องสมัครเอง การสอบนี้จะสอบเฉพาะวิชาพื้นฐานทั้งหมด 8 กลุ่มสาระ คือ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี
1. Clearing House คืออะไร ต้องสอบไหม?
·         Clearing House เรียกว่าเป็นระบบที่รับตรงร่วมกันทุกมหาวิทยาลัย โดยแต่ก่อนน้องๆเมื่อ สอบติดโดยวิธีรับตรงแล้ว น้องจะต้องไปลงทะเบียนเป็น นิสิต นักศึกษา ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ แต่เมื่อระบบนี้เกิดขึ้น น้องจะยังไม่ต้องลงทะเบียนในมหาวิทยาลัย แต่ สอท. จะรวบรวมรายชื่อคนที่ผ่านการคัดเลือกทุกมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม เอาไว้ และให้น้องเข้าไปกดยืนยันสิทธิ์ ว่าน้องจะเลือกเรียนในมหาวิทยาลัยใด ทำให้มหาวิทยาลัยได้จำนวนนิสิต นักศึกษาที่แน่นอน และทำให้จำนวนคนที่ต้องรับเข้าในระบบ Admission ถูกต้องมากยิ่งขึ้น และน้องๆจะไม่มีชื่ออยู่ในมหาวิทยาลัยมากกว่า 1 ที่ ซึ่งแต่เดิม ถ้าน้องมีชื่ออยู่มากกว่า 1 ที่จะต้องทำเรื่องขอลาออกจากมหาวิทยาลัยที่ไม่ต้องการเรียนด้วย
2. Clearing House นี่จะต้องเข้าไปยืนยันสิทธิ์ทุกคนหรือเปล่า?
·         น้องต้องเข้าไปยืนยันสิทธิ์ทุกคนที่ติดในระบบ รับตรง และโควต้า ถ้าไม่เข้าไปยืนยันสิทธิ์ภายในเวลาที่กำหนด ถือว่าสละสิทธิ์การเข้าศึกษาทั้งหมดนะครับ
3. การเข้ามหาวิทยาลัยโดยวิธีรับตรง ใช้คะแนน GAT PAT รอบไหน?

·         ใช้คะแนนรอบ ตุลาคม ปีล่าสุด เท่านั้นครับ แต่สำหรับ Admission น้องสามารถเลือกคะแนนครั้งไหนก็ได้

เตรียมความพร้อมก้าวสู่รั้วมหาวิทยาลัย

ฤดูกาลของการเปลี่ยนแปลง เพื่อต้อนรับนักศึกษารุ่นใหม่ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ต้องถือว่าเป็นช่วงของการปรับตัวครั้งสำคัญในชีวิตการเป็นนักเรียน เพราะนอกจากจะเป็นการเปลี่ยนสถานะจากที่เคยเป็นเด็กน้อยนักเรียน วัยกระโปรงบานขาสั้น มาเป็น นิสิตนักศึกษากันแล้ว ก็ยังถือว่าได้เวลาของความรับผิดชอบและการเรียนอันหนักหน่วงอีกด้วย
สิ่งที่สำคัญที่สุดและแตกต่างจากชีวิตในวัยนักเรียนอย่างชัดเจน ก็เห็นจะเป็นเรื่องของความรับผิดชอบ ที่ต่อไปนี้ น้องๆ จะต้องรู้จักรับผิดชอบตัวเองให้มากขึ้น ว่ากันตั้งแต่ การลงทะเบียนเลยทีเดียว เพราะวิชาที่เราจะเลือกเรียนนั้น จะแบ่งเป็น 2 หมวดใหญ่ๆ อันได้แก่วิชาบังคับ และวิชาเลือก ซึ่งส่วนที่เป็นวิชาเลือกนี้เอง ที่เราจะต้องจัดตารางเรียนให้ลงตัวให้ได้ ไม่ใช่จะดูกันแค่เวลาเรียนไม่ชนกับวิชาอื่นเท่านั้น ยังต้องดูไปถึงวันสอบในช่วงต่างๆ ของเทอมด้วย ในแต่ละวิชานั้นก็จะเปิดรับนักศึกษาในจำนวนที่จำกัดแตกต่างกันไป ดังนั้น อาจจะต้องอาศัยความว่องไว ใครลงก่อนได้ก่อน ก็อย่างที่บอกว่าไม่ใช่เล่นๆ เหมือนตอนมัธยมอีกแล้วล่ะจ้า
                   หลักการในการเลือกวิชาในหมวดวิชาเลือกนี้ ก็ให้เลือกเรียนในวิชาที่เรามีความสนใจหรือความถนัดเป็นหลัก เพราะสิ่งที่เราชอบเราก็มักจะทำได้ดี บางคนเลือกตามเพื่อนสนิทแต่พอไปนั่งเรียนจริงๆ แล้วเกิดไม่ชอบ หรือไม่มีความถนัดก็อาจจะทำให้ไม่อยากเรียน และอาจจะตามคนอื่นไม่ทัน ลองนึกถึงเวลาที่เราต้องนั่งเรียนอยู่ในห้องวิชาที่เราไม่ชอบเอาเลย สมัยที่โดนบังคับเรียนในโรงเรียนสิ มันเคยทรมานเช่นไร มันก็จะไม่แตกต่างกันเลย เพราะฉะนั้น ตอนนี้เรามีโอกาสเลือกสิ่งที่เราจะเรียนด้วยตัวเองแล้ว ก็เลือกดีๆ เลือกอย่างมีเหตุผล และก็อย่าลืม ตามวันสอบ ตามอ่านประกาศต่างๆ ของทางคณะไว้อย่าให้ขาด เพราะเราอาจจะพลาดกำหนดการอะไรบางอย่างไป เรียกว่า ต้องเปิดหูเปิดตาให้กว้างเข้าไว้ เพราะใครๆ ก็ใหม่กันทั้งนั้น หวังพึ่งเพื่อนก็คงพอได้บ้าง แต่ว่าเราก็ต้องเอาตัวเองเป็นที่พึ่งหลักเป็นสำคัญ
เพราะนอกจากเรื่องเรียนแล้ว จะมีบรรดากิจกรรมสำหรับน้องใหม่อีกมากมาย ถาโถมเข้ามาอย่างตั้งตัวกันแทบจะไม่ติด ไหนจะแข่งกีฬา ทั้งในคณะ นอกคณะ งานประเพณีต่างๆ กิจกรรมชมรม ถึงตรงนี้ ต้องแบ่งเวลาให้ดี รับผิดชอบตัวเองว่า เวลาไหนเราต้องทำอะไร จัดวางระหว่างเรื่องเรียนกับกิจกรรมให้ลงตัว อย่าให้พลาด เพราะไม่อย่างนั้น จะลำบากในตอนหลัง เพราะมัวแต่เอาเวลาไปทำกิจกรรม จนอ่านหนังสือไม่ทัน มีผลไปถึงการสอบ อันนี้ต้องระวังนะจ๊ะ
เรื่องของการคบเพื่อนก็ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ในชีวิตมหาวิทยาลัยด้วยเช่นกัน เหมือนเป็นเรื่องใกล้ตัว ที่บางทีเราก็ลืมคิดว่ามันมีผลต่อชีวิตการเรียน การใช้ชีวิตของเราอีกหลายปีข้างหน้าไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะอย่างที่คำโบราณกล่าวไว้คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิต พาไปผลเรื่องนี้นั้นจริงแท้ทีเดียว การเลือกคบเพื่อนที่ดีนั้น ก็จะพากันไปในทางที่ดี และจะมีส่วนช่วยกันตั้งแต่การเรียนไปจนถึงเรื่องกิจกรรม แต่ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าให้เราไปหวังพึ่งเพื่อนเอา 100% เห็นจะไม่ได้ เพื่อนช่วยได้ แต่เราก็ต้องช่วยตัวเราเองด้วย เพื่อนมักจะเป็นส่วนสำคัญในการเติมเต็มส่วนที่เราตกหล่น เหมือนช่วยกันเป็นหูเป็นตา ใครเขาทำอะไร กันที่ไหน อย่างไร เมื่อไหร่ ถ้าเราตามไม่ทัน แต่เพื่อนทัน ก็ยังช่วยกันแก้ไขหรือติดตามอะไรๆ ได้ทันท่วงที แต่ถ้าเจอเพื่อนที่ไม่ดี นอกจากจะไม่ได้ช่วยเหลือกันแล้ว ยังพาเราเหลวไหลไปนอกลู่นอกทาง อันนี้ บอกได้เลยว่าไม่เวิร์คค่ะ และจากวันนี้ไป ก็ตั้งหน้าตั้งตากอบโกยประสบการณ์ให้ได้มากที่สุด เพราะบอกได้เลยว่า ไม่มีช่วงไหนของชีวิตที่จะสดใส และมันส์ได้เท่าช่วงเรียนมหาวิทยาลัยอีกแล้ว ทั้งเรียนทั้งเล่นจัดตารางชีวิตให้ดี แล้วก็อย่าลืมเก็บเอาความสำเร็จไปให้คนที่บ้านชื่นชมด้วยนะเออ ยังมีคนที่คอยให้กำลังใจเราอีกหลายคน ก็เหลือแต่เราเท่านั้น ที่ต้องรู้จักหน้าที่ในการรับผิดชอบตัวเองให้ดีที่สุด ไม่ยากสักนิด เป็นกำลังใจให้อีกแรงจ้า
เตรียมความพร้อมก่อน Admission
               ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคมนี้คงจะเป็นเวลาสำคัญของน้องๆ มัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่จะต้องเข้าสู่สนามสอบครั้งสำคัญอีกครั้ง นั่นคือการคัดเลือกเพื่อเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งในปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากพอสมควร เพื่อให้ได้นักศึกษาที่มีความสามารถเหมาะสมกับสาขาวิชาที่เลือกเรียน การสอบเพื่อวัดความสามารถทางวิชาชีพจึงมีผลต่อการสอบมากยิ่งขึ้น นั่นก็คือการสอบวัดระดับ GAT และ PAT นั่นเอง
เพื่อให้น้องๆ ได้เตรียมตัวกันก่อนการสอบ อุทยานการเรียนรู้ TK park จึงได้จัดกิจกรรม TK Talk เตรียมสอบ GAT, PAT และ O-Net อย่างมั่นใจ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมี ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ หรือสทศ. เป็นวิทยากรมาให้ความรู้กับพ่อ-แม่ ผู้ปกครอง และน้องๆ ที่กำลังเตรียมตัวสอบ Admission ในปีนี้ และปีต่อๆ ไป
               วันนั้นน้องๆ ที่เข้าฟังจะเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และกำลังจะขึ้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ศ.ดร.อุทุมพร จึงขอเน้นไปที่การให้ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมตัวเพื่อสอบ GAT และ PAT เพื่อให้น้องๆ ได้เตรียมตัวเพื่อใช้ในปี 2553 ซึ่งจะเป็นการสอบ Admissionระบบใหม่เต็มตัว
      ตามความหมายแล้ว Admission ไม่ใช่การสอบเหมือนกับการ Entrance แต่เป็นระบบการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยของรัฐทั้ง 23 แห่ง ซึ่งเดิมมี 21 แห่ง แต่ภายหลังเพิ่มมหาวิทยาลัยนครพนม และมหาวิทยาลัยนราธิวาส เข้ามาอีกจึงเป็น 23 แห่งที่เป็นระบบปิด ไม่รวมมหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช ที่เป็นมหาวิทยาลัยเปิด และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ที่รับปริญญาโท ซึ่งเป็น 3 แห่งที่ไม่ต้องใช้ระบบ Admission ในการเข้าศึกษาต่อ (รวมแล้วมหาวิทยาลัยของรัฐบาลมีทั้งหมด 26 แห่ง)
               การคัดเลือกด้วยวิธี Admission คือการคัดเลือกโดยการสอบ และรู้ผลคะแนนก่อนจึงเริ่มรับสมัครเพื่อเลือกคณะที่ต้องการ ต่างกับการสอบ Entrance ที่จะเลือกคณะก่อน แล้วจึงสอบวัดผล ซึ่งในระบบ Entrance นั้นนักเรียนจะไม่ทราบความสามารถของตัวเอง และเลือกแต่คณะตามแฟชั่นนิยม ทำให้นักศึกษามหาวิทยาลัยไม่ได้คุณภาพเท่าที่ควร จึงได้มีการประกาศใช้ระบบ Admission ล่วงหน้า 3 ปี เพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนของนักเรียนที่กำลังสอบเข้าในช่วงเวลานั้น โดยระบบ Admission จะมีการอ้างอิงผลการเรียนตลอดระดับชั้นมัธยม (คะแนนGPA และ GPAX) รวมไปถึงการวัดความถนัดทางด้านวิชาเฉพาะต่างๆ ซึ่งเราเคยได้รู้จักกันในการสอบ O-Net และ A-Net นั่นเอง
      สิ่งที่น้องๆ จะต้องเตรียมตัว และทราบข้อมูลก่อนการ  จำนวนนักศึกษาของแต่ละคณะที่รับนั้นจะถูกแบ่งออกไปเป็น
1. โครงการโควต้าของมหาวิทยาลัย –    ซึ่งมหาวิทยาลัยภูมิภาคจะมีโควต้าให้แก่นักเรียนในพื้นที่ในจังหวัดนั้นๆ หรือจังหวัดใกล้เคียง
2. โครงการความสามารถพิเศษคือการรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านดนตรี และกีฬา เป็นต้น
3. โครงการรับตรงคือการสอบตรงเข้าในคณะนั้นๆ โดยไม่เลือกเป็นลำดับตามปกติ
      โดยจำนวนนักศึกษาโครงการพิเศษทั้ง 3 โครงการนั้นจะมีจำนวน
50 – 70% จากนักศึกษาที่ได้รับทั้งหมด ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ว่าจะกำหนดจำนวนเป็นเท่าใด เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังคงให้โครงการพิเศษเพียง 50% และมหาวิทยาลัยภูมิภาคต่างๆอาจจะให้ถึง 70% และรับจากการ Admissionเพียง 30% เท่านั้น โดยจะมีการรับสมัครประมาณวันที่ 11 เมษายน ใช้เวลาประมาณ 10 วัน โดยจะต้องนำคะแนนสอบที่มีอยู่ไปยื่นเสนอเข้าระบบ Admission ตามลำดับคณะที่เลือกได้มากที่สุด 4 อันดับ โดยมีค่าใช้จ่ายอันดับแรก 100 บาท อันดับต่อๆ ไปอันดับละ 50 บาท
               ในปีการศึกษา 2553 ที่กำลังจะถึงนี้ระบบ Admission จะปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอบน้อยลง และวัดผลได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยจะใช้สัดส่วนคะแนนดังนี้
1. GPA X: 20% (Grade Point Average)
ผลการเรียนชั้นมัธยม 6 ภาคเรียน ตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 ซึ่งเป็นคะแนนที่ยังไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากโรงเรียนมีมาตรฐานการวัดผลไม่เท่ากัน จึงเกิดการปล่อยเกรด ทำให้เกรดเฟ้อ ไม่ตรงตามความรู้จริงๆ ของนักเรียน
2. O-Net: 30% (Ordinary National Educational Test)
เป็นการสอบวัดผล 8 กลุ่มสาระ ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา สุขศึกษา ศิลปะ และการงานอาชีพ โดยข้อสอบจะออกตามหลักสูตรการเรียนร่วมตามแบบเรียนของแต่ละโรงเรียน ส่วนใดที่มีเนื้อหาตรงกันจะเลือกมาออกเป็นข้อสอบ โดยจะมีการสอบปีละ 1 ครั้งสำหรับนักเรียนในระดับชั้น ป.6, ม.3 และม.6 ที่กำลังจะจบการศึกษา โดย O-net จะเป็นคะแนนที่ใช้ถ่วงการประเมินจาก GPAX ทำให้ผลสรุปรวมคะแนนสุดท้ายอาจจะต่ำ หรือสูงกว่า GPAX เดิมที่ออกโดยโรงเรียน
3. GAT: 10 – 50% (General Aptitude Test)
คือ การวัดศักยภาพในการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
               - ความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา
20 ข้อ 150 คะแนน
               - ความสามารถด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ
60 ข้อ 150 คะแนน
การสอบ GAT นี้ ศ.ดร.อุทุมพรได้แนะนำว่า ควรจะปลูกฝังทักษะนี้ตั้งแต่เด็ก เพราะเป็นการวัดผลที่ไม่มีอยู่ในแบบเรียน ไม่สามารถกวดวิชาได้ เป็นความรู้ที่ได้สั่งสมมาจากครอบครัว และความรู้ทั่วไป
4. PAT: 0 – 40% (Professional and academic Aptitude Test)
คือ การทดสอบความถนัดทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ มีทั้งหมด 7 ประเภท ได้แก่
               - ความถนัดทางด้านคณิตศาสตร์
               - ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
               - ความถนัดทางด้านวิศวกรรมศาสตร์
               - ความถนัดทางด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์
               - ความถนัดทางด้านครู
               - ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
- ความถนัดทางด้านภาษา  โดยความถนัดทางด้านภาษาจะมีทั้งหมด 6 ภาษา ได้แก่ บาลี, ญี่ปุ่น, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, จีน และอาหรับ ซึ่งทั้งหมด 6 ภาษาจะสอบพร้อมกันในวัน และเวลาเดียวกัน จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเลือกสอบหลายภาษาได้ การสอบ PAT ทุกประเภทจะแบ่งออกเป็นส่วนของเนื้อหา และศักยภาพ ของแต่ละรายวิชา
ผลคะแนนเฉลี่ยนข้อสอบ O-Net ของนักเรียนม.6 ที่ยังน่าเป็นห่วง
                ศ.ดร.อุทุมพร ได้เน้นย้ำกับนักเรียน และพ่อ-แม่ ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานกำลังจะสอบว่า สิ่งที่ควรระมัดระวัง และต้องปฏิบัติตามก็คือ กฏระเบียบการเข้าห้องสอบต่างๆ เช่น เข้าสอบผิดสถานที่ ไม่มีเลขที่นั่งสอบ ไปสายเกิน 30 นาที จะถือว่าหมดสิทธิสอบ และห้ามนำเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดเข้าห้องสอบ สามารถใช้นาฬิกาดูเวลาได้เฉพาะที่เป็นแบบเข็ม (Analog) เท่านั้น อีกทั้งจะต้องนั่งอยู่ในห้องจนกว่าจะหมดเวลาสอบ ไม่อนุญาตให้ออกจากห้องสอบก่อนเวลา เพื่อเป็นการป้องกันการทุจริตที่มักเกิดขึ้นในช่วง 30 นาทีก่อนหมดเวลาสอบ ซึ่งเป็นเวลาที่เคยกำหนดให้ออกนอกห้องสอบได้หากทำข้อสอบเสร็จแล้ว
      สิ่งที่ไม่ควรจะลืม หรือทำหายนั่นก็คือ ใบเข้าห้องสอบที่ Print ได้หลังจากเราสมัครวิชาที่สอบ และได้รับการยืนยันเรียบร้อยแล้วซึ่งในใบเข้าห้องสอบจะระบุเลขประจำตัว 13 หลั, เลขที่นั่งสอบ, สถานที่สอบและวัน-เวลาของวิชาที่สอบซึ่งควรเก็บใบนี้ไว้จนกว่าจะถึงวันประกาศผลสอบเพราะ
ต้องใช้ในการยืนยันผลสอบด้วย
                 สุดท้ายศ.ดร.อุทุมพรได้ฝากคำแนะนำให้กับน้องๆที่กำลังจะขึ้น ม.5 ทุกคนว่า ควรจะเลือกสอบวิชา GAT ก่อน เพราะเป็นวิชาที่สอบได้ 2 ครั้ง และไม่จำเป็นต้องใช้เนื้อหาจากการเรียน ใช้ประสบการณ์และความรู้เฉพาะตัวเท่านั้น ส่วนการสอบ PAT นั้นควรจะรอให้ถึงม.6 ก่อน เพราะเป็นวิชาเฉพาะทาง ที่ต้องใช้ความรู้ของหลักสูตร ม.6 อีกทั้งบางคณะไม่จำเป็นต้องใช้คะแนน PAT ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องสอบก็ได้ และเมื่อทำข้อสอบควรจะมั่นใจในคำตอบก่อนจะระบายสีเลือกคำตอบ เพราะหากตอบผิดคะแนนจะถูกหักลบออก ถึงแม้จะทำถูกบางข้อก็อาจจะไม่ได้คะแนนหากตอบผิดเยอะๆ

    ปัญหาของเด็ก ม.6 และเด็กรุ่นใหม่ๆ ที่กำลังจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้นคงไม่ได้มาจากความสามารถเพียงอย่างเดียว แต่ปัญหาได้เกิดขึ้นจาก การไม่เข้าใจตนเอง ไม่รู้ว่าตัวเองถนัดอะไร ชอบหรือไม่ชอบสิ่งใด การเลือกอนาคตในรั้วมหาวิทยาลัยตามแฟชั่นนิยมนั้นอาจจะมีผลกระทบในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยปิดไม่ค่อยจะเอื้อโอกาสให้เปลี่ยนย้ายคณะเท่าใดนัก ทำให้หลายคนต้องเสียโอกาสเพราะรู้ตัวเมื่อสายเสียแล้ว

วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เครื่องแบบนิสิต-เครื่องแบบนักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆ

  1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย





  1. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    1. มหาวิทยาลัยมหิดล






  1. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง



  1. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ



  1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์




ตราสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ

  1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ถือกำเนิดจาก "โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน" ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง
  3. ที่อยู่254 Phayathai Road, Pathumwan กรุงเทพมหานคร 10330
  4. ก่อตั้งเมื่อ26 มีนาคม 2460
  5. สีสีชมพู
  6. จำนวนนักศึกษา39,006 (พ.ศ. 2554)
  1. มหาวิทยาลัยศิลปากร

  2. มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งแรกในประเทศไทย มีชื่อเสียงทางด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และโบราณคดีปัจจุบัน เปิดสอนครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และวิทยาศาสตร์การเกษตร 
  3. ที่อยู่6 Rajamankha Nai Rd., Amphoe Muang,, Nakhon Pathom 73000
  4. สีเขียวเวอร์ริเดียน
  5. ก่อตั้งเมื่อ12 ตุลาคม 2486



 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

  1. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เริ่มแรกนั้นได้รับการก่อตั้งในชื่อ “โรงเรียนไทยเทคนิค” 
  2. ที่อยู่Rama 4 Road, Klong-Toey Bangkok, 10110
  3. สีสีม่วง, สีส้ม
  1. มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  2. มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีอัตราการสอบแข่งขันเข้าเรียนมากที่สุดในภูมิภาค มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นหนึ่งในบรรดามหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย
  3. ที่อยู่123 Moo 16,Mittraphap Road,Tambon Muang,Khon Kaen 40002
  4. ก่อตั้งเมื่อ25 มกราคม 2509
  5. จำนวนนักศึกษา34,382 (พ.ศ. 2550)

  1. มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

  2. มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ตั้งอยู่ที่ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2541 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น" เมื่อปี พ.ศ. 2547
  3. ที่อยู่อำเภอ ห้วยกระเจา จังหวัด กาญจนบุรี
  4. ก่อตั้งเมื่อ18 มิถุนายน 2540

  1. มหาวิทยาลัยทักษิณ

  2. มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา เดิมเป็นวิทยาเขตหนึ่งของ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ต่อมา ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ มีชื่อว่า มหาวิทยาลัยทักษิณ 
  3. ที่อยู่อำเภอเมืองสงขลา จังหวัด สงขลา
  4. ก่อตั้งเมื่อ1 ตุลาคม 2511

  1. มหาวิทยาลัยธนบุรี

  2. มหาวิทยาลัยธนบุรี เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร เปิดสอนด้านบริหารธุรกิจ การบัญชี วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะบัณฑิตวิทยาลัย โดยเปิดสอน 2 หลักสูตร คือ MBA และ MSIT 
  3. ที่อยู่6/248 ถนน เพชรเกษม 110 แขวง หนองค้างพลู เขต หนองแขม กรุงเทพมหานคร 10160

  1. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  2. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือเรียกโดยย่อว่า มธ. เป็นมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ก่อตั้งในชื่อ "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" หรือ "ม.ธ.ก." 
  3. ที่อยู่Khlong Nueng, Khlong Luang, Pathum Thani, Thailand, 12120
  4. ก่อตั้งเมื่อ27 มิถุนายน 2477
  5. จำนวนนักศึกษา33,509 (พ.ศ. 2552)
  6. สีสีเหลือง, สีแดง

  1. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

  2. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นหนึ่งในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของประเทศไทย ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2511 ปัจจุบัน เปิดการเรียนการสอนใน 12 คณะ, วิทยาลัยนานาชาติ, วิทยาลัยนานาชาติจีน, วิทยาลัยครุศาสตร์ ระดับปริญญาโท และปริญญาเอก 
  3. ที่อยู่110/1-4 ถ.ประชาชื่น เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210

  1. มหาวิทยาลัยนครพนม

  2. มหาวิทยาลัยนครพนม เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐลำดับที่ 78 ตั้งอยู่ที่ จังหวัดนครพนม มุ่งเน้นการกระจายโอกาสทางการศึกษาแก่ชุมชน โดยจัดการศึกษาทั้งในระดับหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และหลักสูตรปริญญา
  3. ที่อยู่330, ถนนอภิบาลบัญชา, ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม, 48000 48000
  4. สีสีเหลือง
  5. ก่อตั้งเมื่อ2 สิงหาคม 2548


  1. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  2. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐลำดับที่ 77 ในประเทศไทย ตั้งอยู่ในจังหวัดนราธิวาส
  3. ที่อยู่99, Ra-ngamakka Road, Tambon Khok Khian, Amphoe Muang, Narathiwat, 96000

  1. มหาวิทยาลัยนเรศวร

  2. มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ตั้งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2533
  3. ที่อยู่99 Moo 9 Tambon Tha Pho, Muang 65000
  4. ก่อตั้งเมื่อ29 กรกฎาคม 2533
  5. สีสีเทา, สีส้ม

  1. มหาวิทยาลัยบูรพา
  2. มหาวิทยาลัยบูรพา สถาบันอุดมศึกษาของรัฐแห่งแรกที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐตั้งอยู่ที่ ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2498
  3. ที่อยู่อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัด ชลบุรี
  4. ก่อตั้งเมื่อ8 กรกฎาคม 2498
  5. จำนวนนักศึกษา46,441 (พ.ศ. 2553)
  6. สีสีเทา, สีทอง

  1. มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  2. มหาวิทยาลัยปทุมธานี เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนเปิดการสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี โท และเอก ตั้งอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี มหาวิทยาลัยปทุมธานี เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในนาม “วิทยาลัยปทุมธานี” 
  3. ที่อยู่อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัด ปทุมธานี

  1. มหาวิทยาลัยพายัพ
  2. มหาวิทยาลัยพายัพ เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2517 โดยนับเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย 
  3. ที่อยู่Public Relations the Graduate School Payap University,, Mae-Kowchiang Mai, 50000, 50000
  4. ก่อตั้งเมื่อ21 มีนาคม 2517
  5. สีสีขาว, สีน้ำเงิน

  1. มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
    ที่อยู่: ซอย มหิดล 1 ตำบล หายยา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัด เชียงใหม่ 50100
  2. โทรศัพท์:053 201 800

  1. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  2. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ก่อตั้งขึ้นเป็นวิทยาลัยเมื่อปี พ.ศ. 2531 และได้รับการเปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2542


  1. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  2. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งอยู่ในจังหวัดมหาสารคาม เดิมเป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 22 ของประเทศไทย
  3. ที่อยู่อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัด มหาสารคาม 44150
  4. ก่อตั้งเมื่อ9 ธันวาคม 2537
  5. จำนวนนักศึกษา46,693 (พ.ศ. 2554)
  6. สีสีเทา, สีเหลือง

  1. มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นมหาวิทยาลัยที่มีประวัติยาวนานที่สุดของประเทศไทย ตั้งแต่การเป็นโรงเรียนแพทย์ ณ โรงพยาบาลศิริราช ชื่อว่า "โรงเรียนแพทยากร" ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2486
  3. ที่อยู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข. 3310 ตำบล ศาลายา อำเภอ พุทธมณฑล จังหวัด นครปฐม 73170
  4. จำนวนนักศึกษา26,605 (พ.ศ. 2552)

  1. มหาวิทยาลัยรังสิต
  2. มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2528 เปิดสอนหลากหลายสาขาวิชากว่า 86 สาขาวิชา และเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีจำนวนศาสตราจารย์มากเป็นลำดับที่ 2 ของประเทศไทย 
  3. ที่อยู่52/347 เอกทักษิณ ตำบล หลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัด ปทุมธานี
  4. ก่อตั้งเมื่อ29 พฤศจิกายน 2533
  5. สัญลักษณ์นำโชคเสื่อ (มาสคอตมหาวิทยาลัยรังสิต)
  6. สีสีน้ำเงิน, สีชมพู


  1. มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
    ที่อยู่: เขต บางกะปิ จังหวัด กรุงเทพมหานคร
  1. มหาวิทยาลัยราชภัฏ
  2. มหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยที่พัฒนามาจากโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของประเทศ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยครู หลังจากนั้น ได้รับพระราชทานนาม "ราชภัฏ" จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

  1. มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  2. มหาวิทยาลัยรามคำแหง สถาบันอุดมศึกษาของรัฐเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชาแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งรับบุคคลเข้าศึกษาโดยไม่สอบคัดเลือกและไม่จำกัดจำนวน ทำการเรียนการสอนแบบตลาดวิชา คือมีการเรียนการสอนในชั้นเรียนเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยปกติ 
  3. ที่อยู่Ramkhamhaeng Road, Bangkapi, Bangkok 10240
  4. สีสีน้ำเงิน, สีทอง


  1. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  2. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2527 โดยจัดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก 
  3. ที่อยู่84 หมู่ 4 ต.บ้านเกาะ เมือง นครราชสีมา 30000
  1. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  2. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พุทธศักราช 2535 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีรูปแบบเป็น “มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล” บริหารอิสระจากระบบราชการ มีระบบบริหารงานเป็นของตนเอง เป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ 
  3. ที่อยู่222 Thai Buri, Tha Sala District, Nakhon Si Thammarat 80161
  4. สัญลักษณ์นำโชคต้นประดู่
  5. สีสีม่วง, สีส้ม


  1. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
    ที่อยู่: สุขุมวิท แขวง คลองตันเหนือ เขต วัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  2. โทรศัพท์:02 649 5000

  1. มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  2. มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 และได้รับการเปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2530
  3. ที่อยู่61 Phaholyothin Road, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand.

  1. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  2. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในภาคใต้ของประเทศไทย ตาม พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. ๒๕๑๑ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2510 
  3. ที่อยู่15 Karnjanavanich Rd., Hat Yai, Songkhla, 90110
  4. จำนวนนักศึกษา34,000 (พ.ศ. 2550)
  5. สีสีน้ำเงิน

  1. มหาวิทยาลัยสยาม
  2. มหาวิทยาลัยสยาม เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน 1 ใน 5 แห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ได้รับการริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2508 จาก "โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม" และได้สถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2516
  3. ที่อยู่เขต ภาษีเจริญ จังหวัด กรุงเทพมหานคร
  4. สีสีเหลือง, สีน้ำตาล

  1. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  2. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแบบไม่จำกัดรับ แห่งเดียวของประเทศไทย และเป็นมหาวิทยาลัยเปิดโดยใช้ระบบการศึกษาทางไกลแห่งเดียวในประเทศไทย วิกิพีเดีย
  3. ที่อยู่Chaengwattana Rd, Muang Thong Thani, Bangpood, Nonthaburi 11120
  4. ก่อตั้งเมื่อ5 กันยายน 2521
  5. สีสีเขียว, สีทอง

  1. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  2. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ตั้งอยู่ที่ ถนนวิภาวดีรังสิต เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร โดยเปิดสอนทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก รวมทั้งหลักสูตรนานาชาติ
  3. ที่อยู่126/1 Vibhavadee-Rangsit Road, Din Daeng, Bangkok 10400 ไทย

  1. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

  2. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2524
  3. ที่อยู่18/18 ถนนบางนา-ตราด อำเภอ บางพลี จังหวัด สมุทรปราการ 10540
  4. ก่อตั้งเมื่อ17 ธันวาคม 2524

  1. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
  2. ที่อยู่: เขต บางกะปิ จังหวัด กรุงเทพมหานคร
    โทรศัพท์:02 300 4888

  1. มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  2. มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 
  3. ที่อยู่อำเภอ ธัญบุรี จังหวัด ปทุมธานี

  1. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  2. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี "ภูมิปัญญาแห่งภูมิภาคลุ่มน้ำโขง" เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่จัดตั้งในพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2533
  3. ที่อยู่ถ.วารินชำราบ-เดชอุดม ตำบล วารินชำราบ จังหวัด อุบลราชธานี 34190
  4. จำนวนนักศึกษา11,651 (พ.ศ. 2553)
  5. ก่อตั้งเมื่อ29 กรกฎาคม 2533

  1. มหาวิทยาลัยเกริก
  2. มหาวิทยาลัยเกริก เป็นมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ หลักสี่ ถนนรามอินทรา กม.1 กรุงเทพ เปิดทำการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2495 จัดตั้งเป็นสถาบันอุดมศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2513 และได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2538 
  3. ที่อยู่เขต บางเขน จังหวัด กรุงเทพมหานคร

  1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนหลักสูตรทางด้านการเกษตร ก่อตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 3 ของประเทศ โดยมีปณิธาณในการก่อตั้งเพื่อเป็นคุณประโยชน์แก่การกสิกรรมและการเศรษฐกิจของประเทศ
  3. ที่อยู่50 Ngam Wong Wan Rd, Ladyaow Chatuchak กรุงเทพมหานคร 10900
  4. สีสีเขียว
  5. จำนวนนักศึกษา58,827 (พ.ศ. 2553)

    1. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
    2. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2530 ในชื่อ วิทยาลัยเกษมบัณฑิต และเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2535 เปิดสอนระดับปริญญาตรี 8 คณะ 1 วิทยาลัย 1 สถาบัน และปริญญาโท 5 สาขาวิชา
    3. ที่อยู่1761 Pattanakarn Rd., Bangkok 10250
    4. ก่อตั้งเมื่อ24 กุมภาพันธ์ 2530

  1. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  2. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นมหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทยที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาค ตามโครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค 
  3. ที่อยู่239 ถนนห้วยแก้ว ตําบลสุเทพ อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
  4. สีสีม่วง
  5. จำนวนนักศึกษา31,992 (พ.ศ. 2550)

  1. มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  2. มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 โดยอาจารย์สมัย ชินะผา ตั้งอยู่บริเวณห้าแยกลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
  3. ที่อยู่1110/5 Vipavadee-Rangsit Road,, Chatuchak, Bangkok 10900
  4. โทรศัพท์086 909 1727

  1. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  2. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ ที่นิยมเรียกกันว่า นิด้า เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของรัฐ เปิดสอนเฉพาะระดับมหาบัณฑิต และดุษฏีบัณฑิต และถือเป็นสถาบันการศึกษาที่เปิดการสอนหลักสูตร MBA เป็นแห่งแรกในประเทศไทย 
  3. ที่อยู่118 หมู่ 3, ถนนเสรีไทย , คลองจั่น, บางกะปิ,กรุงเทพ 10240, ไทย
  4. ก่อตั้งเมื่อ1 เมษายน 2509
  5. สีสีเหลือง

  1. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

  2. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำในประเทศไทย ที่เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีชื่อเสียงโดดเด่นทางคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตร และ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม
  3. ที่อยู่เขต ลาดกระบัง จังหวัด กรุงเทพมหานคร
  4. สีสีขาว, สีส้ม

  1. สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
  2. สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ก่อตั้งโดย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี 
  3. ที่อยู่เลขที่ 1771/1 ซอย พัฒนาการ 37 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
  4. ก่อตั้งเมื่อ29 กันยายน 2548